ปัญหาทางกฎหมายเรื่องการห้ามคนต่างด้าวออกนอกราชอาณาจักร
อันนี้เป็นปัญหาที่สมมติขึ้นมาเล่น ๆ หากตรงกับเรื่องจริงแสดงว่าบังเอิญ สมมติว่ากรม ส. พบว่าคนต่างด้าวยังไม่ได้จ่ายเงินภาษี จึงทำหนังสือไปยัง สำนักงาน ต. ขอความร่วมมือไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งจะมีปัญหาดังต่อไปนี้
- สำนักงาน ต. มีอำนาจในการห้ามคนต่างด้าวเดินทางออกนอกราชอาณาจักรหรือไม่ ?
- หากคนต่างด้าวเดินทางออกนอกราชอาณาจักรมีกฎหมายใดให้อำนาจกระทำการใด ๆ บ้าง ?
- กรณีนี้ถ้าเป็นผมคิดว่าควรจะทำอย่างไร ?
อย่างแรกเลยไม่มีกฎหมายข้อใดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ ให้อำนาจเจ้าพนักงานในการห้ามคนต่างด้าวเดินทางออกนอกราชอาณาจักรครับ มีแต่การให้อำนาจในการผลักดันหรือห้ามไม่ให้เข้าประเทศครับ ดังนั้นตัดเรื่องอำนาจจาก พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ ไปได้ครับ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกฉบับคือ ประมวลรัษฎากร
มาตรา 4 นว คนต่างด้าวผู้ใดเดินทำงออกจากประเทศไทยโดยไม่มีใบผ่านภาษี อากร ซึ่งต้องมีตามความในประมวลรัษฎากรนี้ ต้องระวำงโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือจำคุกไม่ เกินหนึ่งเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ คนต่างด้าวผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน ดังนั้นจะเห็นว่าเจ้าพนักงานสามารถดำเนินคดีกับคนต่างด้าวได้โดยอาศัยอำนาจตาม ประมวลรัษฏกร
ทีนี้คำถามยังไม่จบนะครับกรณีที่คนต่างด้าวถูกลงโทษทางอาญาไปแล้ว หากต้องการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรอีกครั้งจะทำอย่างไร เพราะโทษทางอาญาต้องไม่โดนลงโทษซ้ำอย่างเด็ดขาด ทางแก้ก็เหมือนเดิมครับกลับไปดูประมวลรัษฎากรอีกครั้งจะมีเรื่องการให้คนต่างด้าวทำประกันก่อนเพื่อรับใบผ่านภาษีตามมาตรานี้
มาตรา 4 อัฏฐ คนต่างด้าวซึ่งมีความจำเป็นต้องเดินทางเข้าออกประเทศไทยเป็น ปกติธุระเกี่ยวกับการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ จะยื่นคำร้องต่ออธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ ได้รับมอบหมาย แล้วแต่กรณี ขอให้ออกใบผ่านภาษีอากรให้ใช้เป็นประจำก็ได้ ถ้าผู้รับคำร้องพิจารณา เห็นว่าคนต่างด้าวผู้นั้นมีความจำเป็นดังที่ร้องขอ และมีหลักประกันหรือหลักทรัพย์อยู่ในประเทศไทย พอคุ้มค่าภาษีอากรที่ค้างหรือที่จะต้องชำระแล้ว จะออกใบผ่านภาษีอากรให้ตามแบบที่อธิบดีกำหนด ก็ได้ใบผ่านภาษีอากรเช่นว่านี้ให้มีกำหนดเวลาใช้ได้ตามที่ระบุในใบผ่านภาษีอากรนั้น แต่ต้องไม่เกิน กว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันออก
เจ้าพนักงานก็สามารถอ้างว่าคนต่างด้าวยังไม่มีใบผ่านภาษีไม่สามารถอนุญาตให้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้ และการเดินทางครั้งหลังก็เป็นอีกกรรมหนึ่งจึงไม่ใช่การลงโทษซ้ำ
แต่โดยความคิดผมเห็นว่าวิธีการนี้ค่อนข้างยุ่งยากแล้วเป็นการยากที่จะให้เจ้าพนักงานอีกหน่วยเข้าใจกฎหมายที่หน่วยงานตนเองรับผิดชอบอยู่ โดยหากเชื่อว่าคนต่างด้าวจะเดินทางออกนอกราชอาณาจักรจริง กรม ส. ควรฟ้องต่อศาลแพ่งเพื่อทำการสืบทรัพย์และขอให้ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวดังกล่าวเดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้และส่งคำสั่งศาลไปยังอีกหน่วยจะรวบรัดกว่า เรื่องนี้คิดอยู่สามวัน
Recent Comments