ปกติมันจะมีงานที่ต้องทำซ้ำแบบรวมข้อมูลทำรายงาน แล้วยังต้องเอาข้อมูลไปกรอก Google sheet อีกซึ่งมันก็ข้อมูลเดียวกัน ทีนี้จะเขียนบอทผมก็หาข้อมูลพอสมควรจนไปเจอ lib ตัวนี้ครับ ซึ่งใช้งานง่ายความสามารถดีแบบหาคำใน sheet ได้
วิธีลงก็ง่าย ๆ pip3 install gspread
ผมลองรีวิวโค้ดคร่าว ๆ ก็น่าจะปลอดภัย แต่ก่อนอื่นต้อง service account ก่อนแล้วก็เอา credential มาใส่ แล้วก็จะสามารถใช้งานได้แล้วครับ
อ่อตอนแรกผมลองใช้กับ python 2.7 แล้วเจอปัญหาพวกอ่าน unicode ไม่ได้ครับแนะนำให้ใช้กับ python3 ครับจบเลยไม่มีปัญหาอีกเลย
ผมเพิ่งเคยเจอปัญหานี้นะเพราะเอา rasp pi มาใช้ที่บ้านแล้วต่อจอปรากฎว่ามันไม่ยอมต่อ wifi แฮะ คือต่อช้ามากพอต่อแล้ว network ช้ามาก ๆ อีก สรุปคือปัญหาเกิดจาก resolution ครับเหมือนจอยิ่งละเอียดยิ่งกินไฟเยอะมันทำให้ทุกอย่างช้า ผมแก้โดยการลด resolution ลงครับ จากตอนแรกเป็น 1080 เหลือ 720 แล้วก็กลับมาใช้ได้เหมือนเดิมครับ อันนี้คนที่เจอปัญหาแบบผมนะครับ อ่อตัว power supply เป็นของตัว rasp pi เองเพราะงั้นไม่ใช่ปัญหาเรื่อง supply ครับ
ช่วงนี้จะสอบเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศก็เรียนเรื่องอนุสัญญาก็มีเคสที่มีหนังสือเวียนในที่ทำงานเกี่ยวกับ การลักพาตัวเด็กทางแพ่ง ซึ่งผมขออธิบายง่าย ๆ ว่าไอ้การลักพาตัวทางแพ่งนี่มันก็คือการลักพาตัวโดยพ่อหรือแม่ที่ไม่มีสิทธิปกครองบุตร ซึ่งเป็นกรณีที่ว่าเค้าเด็กไปอีกประเทศที่ตัวเองอาศัยอยู่
ตัวหนังสือก็มาจากสำนักงานทนายความแห่งหนึ่งก็น่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้เลยครับ เค้าก็พูดถึงอนุสัญญากรุงเฮคว่าด้วยการลักพากตัวเด็กนี่แหละครับ เออ ผมก็สงสัยไทยเป็นภาคีรึเปล่าก็ไปเจอข้อมูล ว่าไทยเองก็เป็นภาคีในอนุสัญญาแล้ว แต่นี้ความที่ไทยเองไม่ได้เอากฎหมายระหว่างประเทศมาปรับใช้ได้เลยเหมือนพวก ฝรั่งเศส หรือเยอรมัน มันก็ต้องมีการร่าง พ.ร.บ.มาเพื่อให้สามารถใช้งานตัวอนุสัญญาในประเทศได้ พ.ร.บ.ที่ว่าคือ พ.ร.บ.ประกอบอนุสัญญาฯ ซึ่งก็กำลังร่างกันอยู่
ทีนี้ไอ้ความที่ว่ากฎหมายภายในประเทศเราไม่มีใช้ การจะออกคำสั่งทางปกครองให้ปฏิเสธการขอต่อวีซ่า หรือแม้แต่การจะผลักดันส่งกลับตามมาตรา 53-54 ของ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง นี่มันทำได้หรือเปล่า เช่น นาย A นาง B เป็นคนต่างด้าวทั้งคู่ เมื่อมีหนังสือมาจาก สอท.ประเทศอื่นว่านาย A ได้พาตัวเด็กชาย C ซึ่งนาง B มีสิทธิปกครองแต่เพียงผู้เดียว การที่สอท.ทำหนังสือมาตามหาเด็กชาย C จะเรียกว่าเป็นบุคคลที่ทางการประเทศอื่นต้องการตัวตามมาตรา 12(7) ของ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ ได้หรือเปล่าผมเองก็ไม่แน่ใจ
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของเด็กเป็นสำคัญ เช่น การพาเด็กมาอยู่ต่างบ้านต่างเมืองแบบไทยเองย่อมไม่เป็นประโยชน์ต่อตัวเด็กเอง ก็ควรจะปฏิเสธการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ โดยพื้นฐานที่ว่าการพาเด็กมาไม่เป็นไปโดยสุจริตมีเจตนาพรากมาจากการปกครองของผู้ปกครอง ซึ่งผมก็ไม่สามารถสรุปได้จนกว่าตัว พ.ร.ป.จะออกนะครับ แต่คิดว่าการดำเนินการแบบนี้น่าจะดีต่อตัวเด็กที่สุด
ผมแนะนำให้อ่านข้อมูลต้นทางนะครับเพราะมีตัวอย่างจริงที่ค่อนข้างเป็นประโยชน์มากครับ
อ่อ เพิ่งเห็นว่าเรื่องนี้มีกฎหมายและแนวทางปฏิบัติแล้วนะครับ เป็น พ.ร.บ.ตัวนี้ครับ แนวทางคือ อสส ขอความร่วมมือจากหลายฝ่ายและพิจารณาว่าจะส่งเด็กกลับหรือไม่ครับ ตามมาตรา 10 ครับ
เพิ่งเขียน web app แบบจริงจังนิดหน่อย ทีนี้ก็มีหน้าที่ดึงข้อมูลทั้งปีมา process ข้อมูลไม่ได้เยอะนะแค่สองแสนกว่าเอง ซึ่งพอกดแล้วใช้เวลา 9 นาทีกว่าหน้าจะโหลดเสร็จ ด้วยความที่อ่อนประสบการณ์อย่างแรกเลยที่หาคือ เฮ้ย tuning db ยังไง ทำไม query ช้าจังวะ ก็อ่อมี slow query log (MYSQL) โอเคอ่าน log แต่พอลองเอา query มา query บน client แล้วอ่าวเฮ้ยมันแค่สองวินี่หว่า มันไม่ได้ช้าที่ db นี่ ก่อนหน้านี้ทำ indexing ด้วยแต่ไม่มีผล
สุดท้ายคืออ่อ เราเอาผลการ query มา process อีกนั่นต่างหากที่ทำให้ช้ามันไม่ได้ช้าที่ตัว db ลองดูว่าแต่ละจุดใช้เวลาเท่าไหร่ก็จะรู้เอง ถามว่าแก้ยังไงแก้โดยการ query แล้วให้ออกมาอย่างที่เราต้องการโดยไม่ต้อง process อีก เช่น ข้อมูล datetime ใช้ substring มาตัดให้เหลือ date ทำไงก็ได้ให้ process ต่อน้อยที่สุดหน้าเว็บมันจะเร็วขึ้นเองจาก 9 นาทีเหลือประมาณ 20 วิ
Recent Comments