เมื่อคืนเพิ่งจะดู Fate route Heaven’s feel ตอนที่สองเสร็จแต่ก็อยากรู้ตอนจบเลยลองหาสปอยล์อ่านดู ก็เออเกมส์ ๆ เดียวแต่ทำเป็น anime ได้สามทีเจ๋งดีแฮะ แต่รู้สึกเอะใจตรงที่่มันคล้ายกับกับมังกรหยกไตรภาคเลยแฮะ
ไอ้มังกรหยกมันก็มีแก่นของเรื่องต่างกันในแต่ละภาค คือ ภาคแรกเป็นเรื่องความรักชาติ ภาคสองเป็นเรื่องความรักของปัจเจกชนและความรักชาติที่ไปในทางเดียวกัน แต่ภาคสามคือเรื่องความรักปัจเจกชนที่เหนือกว่าความรักชาติ ทีนี้ถ้าเทียบก็เหมือน Route Fate ก็คือ ก๋วยเจ๋ง Route UBW ก็คือเอี้ยก๊วย ส่วน HF ก็คือ เตียบ่กี้ คือจะเห็นว่าแต่ละภาคเอาอุดมคติของพระเอกเป็นหลักที่จะเป็นฮีโร่ route แรกก็ยึดไว้เต็มที่เลย ส่วน UBW ก็มีเรื่องฮีโร่แต่มีความรักกับรินเข้ามาเกี่ยวด้วย แต่พอ HF มันทิ้งอุดมคติไปเลยแล้วเอาความรักเป็นหลัก ซึ่งเออหวะเจ๋งดีหวะ
ช่วงนี้ติดซีรีย์ Brooklyn99 แบบงอมแงมเลยครับ ss2ep ดันมีตอนที่ผู้กองประจำสถานี(สถานีบ้านเราจะเป็นระดับ ผู้กับกับจนถึงสารวัตรแล้วแต่ขนาดสถานี แต่อเมริกาเป็นแค่ร้อยตำรวจเอกแฮะ)ถามว่า ถ้ามีคน 12 คนมีคนหนึ่งน้ำหนักแตกต่างจากคนอื่น(ไม่ทราบว่าน้อยกว่าหรือมากกว่า) ถ้ามีกระดานหกทำอย่างไร จะทำอย่างไรหาคนที่มีน้ำหนักแตกต่างจากคนอื่น จำได้ว่าเคยเห็นคำถามนี้มาหลายรอบแล้วแต่จำไม่ได้ว่าเคยคิดออกหรือเปล่า แต่วันนี้คิดออกแฮะ
อันดับแรกแบ่งคนออกเป็นสามกลุ่มเป็นหมายเลข 1-12 ละกัน กรณีแรกคือเท่ากันให้ชั่ง 1-8 โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม 1-4 กับ 5-8 อยู่คนละข้างของกระดาน ถ้าเท่ากันเราจะรู้ว่าคนที่น้ำหนักต่างอยู่ในกลุ่ม 9-12 ทีนี้
ชั่ง 9 กับ 10 ถ้าเท่ากัน ชั่ง 11 กับคนที่รู้น้ำหนักถ้าเท่ากันคนที่น้ำหนักแตกต่างคือ 12 ถ้าเอียงชั่ง 9 กับคนที่รู้น้ำหนักถ้าเท่ากันคนที่น้ำหนักต่างคือ 10 ถ้าไม่เท่าคนที่น้ำหนักต่างคือ 9 ทีนี้อันนี้ง่ายใคร ๆ ก็คิดออกที่ยากคือกรณีที่เมื่อชั่ง 1-4 กับ 5-8 แล้วมันดันไม่เท่ากัน
ตอนที่ชั่งแล้วมันดันเอียงต้องจำไว้ว่าเอียงไปด้านไหน ด้านไหนเบาหรือหนักกว่า ทีนี้ต้องเอาคนออกคำถามคือจะเอากี่คนออกตรงนี้แหละที่ยากตอนแรก ๆ ผมจะคิดว่าเอาออกสองคนฝั่งละคนแล้วสลับอีกสอง แต่นี่ไม่ใช่คำตอบที่ถูก ที่ถูกคือการชั่งครั้งที่สองเราจะชั่งแบบนี้ครับ
[1 2 6 X] [5 3 X X] X คือคนที่เราเอาออกแล้วเอาคน 4 คนที่เรารู้ว่าน้ำหนักปกติมาแทน ถ้าทำแล้วกลายเป็นว่ามันเท่ากันเราจะรู้ว่าคนที่น้ำหนักต่างไปคือ 4 7 หรือ 8 แล้วทำไงต่อง่าย ๆ ครับเราชั่ง 4 กับ 7 ถ้ากระดานเอียงไปด้านเดิมคนที่น้ำหนักต่างคือ 4 แต่ถ้ามันเปลี่ยนข้างคนที่น้ำหนักต่างคือ 7 แต่ถ้ามันเท่ากันคนที่น้ำหนักต่างคือ 8
แต่ถ้ามันดันเปลี่ยนข้างเราจะรู้ว่าคนที่นำหนักต่างคือ 3 หรือ 6 ก็ง่ายชั่ง 3 กับคนที่รู้น้ำหนักแตถ้ามันดันเหมือนเดิมเท่ากับเราจะรู้ว่าคนที่น้ำหนักต่างคือ 1 2 หรือ 5 ก็ง่าย ๆ ครั้งสุดท้ายเราชั่ง 1 กับ 2 ไม่ชั่ง 5 ถ้าอยู่ข้างเดิมคนที่น้ำหนักต่างคือ 1 ถ้าเปลี่ยนคือ 2 ถ้าเท่าคือ 5
คือสรุปแล้วไอ้การเอียงไปข้างไหนนี่แหละที่ทำให้เราเอาคนออกในครั้งต่อมาได้มากกว่า 2 คนเป็น 3 คน
เพิ่งจะมีเวลาว่างมาเขียน blog หลังจากงานยุ่งมาหลายเพลา พอดูเรื่องนี้ถึงได้ถึงบางอ้อ
ว่าจริง ๆ แล้ววัฒนธรรมการกินนี่ต่างกันไปตามประเทศแฮะ แล้วอะไรที่เราคิดว่าอร่อยมันอยู่ที่ว่า
เรารับวัฒนธรรมมาจากไหนมากกว่า
ตัวหนังพูดเรื่องสถานการณ์การกินเสต็กของฝรั่งเศสที่เริ่มแย่ลง เหมือนกับคนไม่รู้ว่าเสต็กที่อร่อยเป็นอย่างไร
แล้วก็พาเราไปรอบโลกทั้ง สหรัฐ อาร์เจนตินา อังกฤษ ญี่ปุ่น สเปน เพื่อหาว่าเสต็กที่อร่อยของแต่ละที่เป็นอย่างไร
ถึงตอนสุดท้ายจะวกกลับมาอวยว่าเนื้อที่อร่อยที่สุดอยู่ที่ฝรั่งเศสก็ตามที
แต่ความแตกต่างของวัฒนธรรมการกินนี่มันก็น่าตื่นตะลึงจริง ๆ ครับ เปิดเรื่องมาด้วย วัวแองกัสจากสหรัฐ
ที่นิยมเชือดตอนหนุ่ม ๆ ไม่เกิน 30 เดือน ในขณะที่สเปนนิยมทานวัวที่โตเต็มที่จริง ๆ แบบ 14 ปีแบบนั้น
หรือเนื้อลาย ๆ ที่มีไขมันแทรกอยู่แบบวากิว มัตสึซากะที่ขายแพงลิบลิ่วในญี่ปุ่นกลับไม่เป็นที่นิยมในฝรั่งเศส
ที่เนื้อแบบนี้จะเป็นเนื้อราคาต่ำ ต้องเป็นเนื้อที่มันน้อย ๆ
แบบเฮ้ยอะไรมันจะขัดกันขนาดนั้น ถึงจะมีจุดร่วมที่ทุกคนเห็นพ้องกันว่า รสชาติจะมาจากสายพันธุ์ของวัวเป็นหลัก
กับอาหารการกินของวัวจะมีผลต่อรสชาติก็เถอะครับ
สรุป แล้วชอบอะไรคงเป็นเรื่องที่ว่าเรารับวัฒนธรรมอะไรมามากแค่ไหน แต่ดูแล้วหิวเลยแฮะอยากทานเนื้อย่างเลย
เพิ่งดูจบครับ แต่ก็ได้ประเด็นบางอย่าง บางครั้งก็ดูเหมือนว่ามนุษย์นี่ไม่เคยเรียนรู้อะไรเลยนะครับ
หนังพูดถึง อลัน ทรูริ่ง นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ที่มีส่วนร่วมในการถอดรหัสเครื่องอินิกมาของเยอรมัน
ตัว อลัน ค่อนข้างจะแปลกแยกออกจากสังคม ไม่ว่าจะเป็นตอนเรียน หรือตอนทำงาน และไม่เข้าใจวิถีของ
สังคม ฉากกินข้าวนี่ผมฮาก๊ากเลย (ซึ่งไม่แน่ว่าจริง ๆ แกเป็นแบบนั้นหรือเปล่า)
ซึ่งแกมีงานด้านคณิตศาสตร์ค่อนข้างมาก เท่าที่พอจำได้ก็เรื่อง black box ว่าด้วยเครื่องจักรที่สามารถแก้ไขปัญหาได้
ที่เป็นที่มาของคอมพิวเตอร์ทุกวันนี้ หรือวิธีการที่จะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเล่นหมากรุกได้ เรื่องที่น่าเสียดาย
ก็คือแกตายด้วยอายุแค่ 40 ต้น ๆ มีการสันนิษฐานว่าแกฆ่าตัวตายโดยใช้ไซยาไนด์
เพราะในชีวิตจริงแกเป็นเกย์แบบที่หนังเล่ามาครับ ซึ่งตอนนั้นการเป็นเกย์เป็นสิ่งผิดกฎหมาย ทำให้แกต้องได้รับการบำบัด
โดยการตอนโดยใช้สารเคมีครับ เรื่องที่งี่เง่าก็คือ เราได้ยินเรื่องพวกนี้บ่อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ กาลิเลโอ
หรือใครซักคนที่มาก่อนเวลา แต่มีความคิดล้ำหน้าไปกว่าคนในยุคนั้น แต่น่าเสียดายที่เรายอมรับความคิดแบบนั้นไม่ได้
หรือยอมรับความแปลกแยกบางอย่างไม่ได้ ทำเราเสียทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดไปครับ
สำหรับ อลัน ทางควีนก็ออกมาขอโทษต่อสิ่งที่เขาได้รับไปเมื่อปี 2013 ครับก็นับว่าไม่ได้สิ้นหวังทีเดียว
อย่างน้อยพวกเราก็ค่อย ๆ เรียนรู้และค่อย ๆ ยอมรับอะไร ๆ ได้มากขึ้น
ผมชอบหนังเรื่องนี้มากตรงที่ว่าเป็นหนังเกี่ยวกับดนตรีเรื่องแรกที่ดูแล้ว อึ้งว่าดนตรีมันก็หลักเหลี่ยมกันได้แฮะ แนะนำว่าเป็นหนังที่ดูเรื่องหนึ่งเลยครับ
ประเด็นที่ผมอยากจะพูดเกี่ยวกับหนังก็คือ ไอ้วิธีการที่ เฟลชเชอร์ ใช้ตลอดทั้งเรื่องมันคือวิธีการที่ถูกหรือเปล่า ? การกดดันเพียงอย่างเดียวสามารถทำให้เราก้าวข้ามผ่านขีดจำกัดได้หรือไม่ ?
ผมเรียนโรงเรียนคริสต์เตียนแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ สมัยประถมมีมาสเตอร์ท่านหนึ่งสอนวิชาภาษาอังกฤษ มาสเคอร์อันโตนิโอ (เรียกกันเล่น ๆ ในหมู่ผู้ปกครองว่า “ปู่โต”) แกมีวิธีการสอนที่เป็นที่เลื่องลือครับ ทุกครั้งที่แกสอนภาษาอังกฤษแกจะมาพร้อมกับไม้ไผ่พันมาสกิ้งเทปยาวเมตรกว่า แกสอน conversation เป็นหลักแต่จะเน้นการอ่าน (หนังสือการอ่านของแกเป็นเล่มสีเหลือง ๆ เล็ก ซึ่งมีมุขตลกประปราย) แต่วิธีการสอนของแกค่อนข้างจะเครียดครับ แกจะสุ่มให้นักเรียนอ่านเป็นรายบุคคล ใครอ่านไม่ได้จะโดนฟาดด้วยไม้ที่แกเตรียมมา เสียงฟั่บดังและฟังชัด พร้อมกับด่าว่าไอ้ควายใบ้
ผลครับสมัยนั้นโรงเรียนเป็นที่เลื่องลือในความเก่งภาษาอังกฤษของบรรดานักเรียนครับ แต่สำหรับผมเอากันจริง ๆ แทบไม่ได้อะไรครับ พื้นฐานที่ดีส่วนใหญ่มาจากการท่อง vocab ที่ครูภาษาไทยเป็นคนสอนมากกว่าครับ แต่ก็ถือว่ามีพื้นฐานทางภาษาที่ดีพอสมควรแต่ยังพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ครับ
จนกระทั่ง ม.ปลาย ครับ ม.ปลายจะมีมาสเตอร์สอนพร้อมกับครูต่างชาติครับ เน้นการสนทนาเป็นหลัก วันหนึ่งผมโดนถามในห้องครับซึ่งก็ตามสไตล์ผมแต่งประโยคที่จะพูดเองซึ่งก็ทำให้มาสเตอร์ค่อนข้างพอใจครับ แกก็ชมผมครับ คือ มันไม่ใช่แค่ feedback ที่ดี แต่มันบอกเราว่าจุดแข็งของเราคืออะไรใช้ประโยชน์ได้อย่างไร ตั้งแต่นั้นผมไม่กลัวภาษาอังกฤษอ่าน text และพูดกับชาวต่างชาติได้อย่างสบาย ๆ
เพราะฉะนั้นการกดดันของ เฟลชเชอร์ หรือปู่โตไม่ได้สร้างอะไรขึ้นมา ไม่ได้บอกว่าอะไรคือจุดแข็งจุดอ่อนที่ควรแก้ ผมไม่ได้ต่อต้านวิธีการที่กดดันนะครับ แต่การจะกดดันต้องบอกด้วยว่าอะไรคือสิ่งที่ทำพลาดไปและอะไรคือจุดแข็งที่สามารถทำให้ตัวผู้รับพัฒนาขึ้นได้ครับ
หลังจากดู Fury จบผมรู้สึกว่ามันไม่ใช่แค่หนังสงครามที่ดูเอามันเฉย ๆ แต่หนังแสดงให้เห็นการเติบโตของ นอร์แมน พลทหารที่มาประจำเป็นผู้ช่วยคนขับคนใหม่ เริ่มจากการเป็นคริสเตียนที่เคร่งครัด ไม่พรากชีวิตคน แต่มาพบเหตุพลิกผลันทำกลายเป็นอีกคน ช่วงท้าย ๆ ของหนังเค้าไม่กลัวที่จะเหนี่ยวไกเพื่อฆ่านาซี ทำให้เห็นว่าสงครามเปลี่ยนคนได้ แต่คำถามที่หนังถามกับเราจริง ๆ คือ
อะไรคือคนดี อะไรคือคนเลว
คนแบบนอร์แมนที่คนอื่นเชื่อว่าเป็นคนดี เป็นคนแรกที่ก้าวขาออกมาเพื่อยันทหาร 300 คนกับจ่า กับทหารคนอื่นที่แสดงออกมาอย่างกักขฬะทั้งเรื่อง แต่อยู่กับจ่าจนวินาทีสุดท้าย เราสามารถที่จะตัดสินคนว่าดีหรือเลวได้จากการกระทำเพียงครั้งเดียวได้ไหม คนแบบนอร์แมนเลวไหมที่หนีเอาตัวรอดคนเดียว แล้วคนแบบเกรดดี้ที่มีปัญหามาทั้งเรื่องยอมตายกับจ่าแม้จะอิดออดบ้างถือว่าเป็นคนดีไหม
ดูเหมือนว่าจะไม่มีคำตอบสำหรับเรื่องนี้ไม่ว่าจะในหนังหรือในชีวิตจริง
Recent Comments