Home > Uncategorized > ว่าด้วยการลักพาตัวทางแพ่ง

ว่าด้วยการลักพาตัวทางแพ่ง

April 23rd, 2021

ช่วงนี้จะสอบเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศก็เรียนเรื่องอนุสัญญาก็มีเคสที่มีหนังสือเวียนในที่ทำงานเกี่ยวกับ การลักพาตัวเด็กทางแพ่ง ซึ่งผมขออธิบายง่าย ๆ ว่าไอ้การลักพาตัวทางแพ่งนี่มันก็คือการลักพาตัวโดยพ่อหรือแม่ที่ไม่มีสิทธิปกครองบุตร ซึ่งเป็นกรณีที่ว่าเค้าเด็กไปอีกประเทศที่ตัวเองอาศัยอยู่

ตัวหนังสือก็มาจากสำนักงานทนายความแห่งหนึ่งก็น่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้เลยครับ เค้าก็พูดถึงอนุสัญญากรุงเฮคว่าด้วยการลักพากตัวเด็กนี่แหละครับ เออ ผมก็สงสัยไทยเป็นภาคีรึเปล่าก็ไปเจอข้อมูล ว่าไทยเองก็เป็นภาคีในอนุสัญญาแล้ว แต่นี้ความที่ไทยเองไม่ได้เอากฎหมายระหว่างประเทศมาปรับใช้ได้เลยเหมือนพวก ฝรั่งเศส หรือเยอรมัน มันก็ต้องมีการร่าง พ.ร.บ.มาเพื่อให้สามารถใช้งานตัวอนุสัญญาในประเทศได้ พ.ร.บ.ที่ว่าคือ พ.ร.บ.ประกอบอนุสัญญาฯ ซึ่งก็กำลังร่างกันอยู่

ทีนี้ไอ้ความที่ว่ากฎหมายภายในประเทศเราไม่มีใช้ การจะออกคำสั่งทางปกครองให้ปฏิเสธการขอต่อวีซ่า หรือแม้แต่การจะผลักดันส่งกลับตามมาตรา 53-54 ของ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง นี่มันทำได้หรือเปล่า เช่น นาย A นาง B เป็นคนต่างด้าวทั้งคู่ เมื่อมีหนังสือมาจาก สอท.ประเทศอื่นว่านาย A ได้พาตัวเด็กชาย C ซึ่งนาง B มีสิทธิปกครองแต่เพียงผู้เดียว การที่สอท.ทำหนังสือมาตามหาเด็กชาย C จะเรียกว่าเป็นบุคคลที่ทางการประเทศอื่นต้องการตัวตามมาตรา 12(7) ของ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ ได้หรือเปล่าผมเองก็ไม่แน่ใจ

แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของเด็กเป็นสำคัญ เช่น การพาเด็กมาอยู่ต่างบ้านต่างเมืองแบบไทยเองย่อมไม่เป็นประโยชน์ต่อตัวเด็กเอง ก็ควรจะปฏิเสธการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ โดยพื้นฐานที่ว่าการพาเด็กมาไม่เป็นไปโดยสุจริตมีเจตนาพรากมาจากการปกครองของผู้ปกครอง ซึ่งผมก็ไม่สามารถสรุปได้จนกว่าตัว พ.ร.ป.จะออกนะครับ แต่คิดว่าการดำเนินการแบบนี้น่าจะดีต่อตัวเด็กที่สุด

ผมแนะนำให้อ่านข้อมูลต้นทางนะครับเพราะมีตัวอย่างจริงที่ค่อนข้างเป็นประโยชน์มากครับ

อ่อ เพิ่งเห็นว่าเรื่องนี้มีกฎหมายและแนวทางปฏิบัติแล้วนะครับ เป็น พ.ร.บ.ตัวนี้ครับ แนวทางคือ อสส ขอความร่วมมือจากหลายฝ่ายและพิจารณาว่าจะส่งเด็กกลับหรือไม่ครับ ตามมาตรา 10 ครับ

Categories: Uncategorized Tags:
Comments are closed.